หน่วยที่ 3



หน่วยที่ 3 การสื่อสารเพื่อการเรียนการสอน


- ความหมายรูปแบบและชนิดของการสื่อสาร

           การสื่อสาร หรือ การสื่อความหมาย (Communication) เป็นคำที่รากศัพท์มาจากภาษาลาตินว่า "communius" หมายถึง "พร้อมกัน" หรือ "ร่วมกัน" (common) หมายความว่า เมื่อมีการสื่อสารระหว่างกันเกิดขึ้น คนเราพยายามที่จะสร้าง "ความพร้อมกันหรือความร่วมกัน" ทางด้านความคิดเรื่องราวเหตุการณ์ ทัศนคติ ฯลฯ กับบุคคลที่เรากำลังสื่อสารด้วยนั้น ดังนั้น การสื่อสารจึงหมายถึง การถ่ายทอดเรื่องราว การแลกเปลี่ยนความคิดเห็น การแสดงออกของความคิดและความรู้สึก ตลอดรวมไปถึง "ระบบ" (เช่น ระบบโทรศัพท์) เพื่อการติดต่อสื่อสารข้อมูลซึ่งกันและกัน (Webster's Dictionary 1978 : 98) นอกจากนี้ การสื่อสารยังเป็นการที่บุคคลในสังคมมีปฏิสัมพันธ์โต้ตอบกันโดยผ่านทางข้อมูลข่าวสาร สัญลักษณ์ตลอดจนเครื่องหมายต่าง ๆ ด้วย (Fiske 1985:2)

ความหมายโดยสรุป

         การสื่อสาร หรือ การสื่อความหมาย เป็นการที่ผู้ส่งซึ่งเป็นบุคคลกลุ่มชน หรือสถาบัน ถ่ายทอดเรื่องราว ข่าวสาร ข้อมูล ความรู้แนวความคิด เหตุการณ์ต่าง ๆ ฯลฯ โดยอาศัยสื่อหรือช่องทางในการถ่ายทอดไปยังผู้รับซึ่งเป็นบุคคล กลุ่มชน หรือสถาบัน เพื่อให้ผู้รับได้รับทราบข่าวสารร่วมกัน

ประเภทของการสื่อสาร แบ่งได้เป็น 4 ประเภท ดังนี้

1 การสื่อสารในตนเอง (Intapersonal or Self-Communication) เป็นการสื่อสารภายในตัวเอง หมายถึง บุคคลผู้นั้นเป็นทั้งผู้ส่งและผู้รับในขณะเดียวกัน เช่น การเขียนและอ่านหนังสือ เป็นต้น
2 การสื่อสารระหว่างบุคคล (Interpersonal Communication) เป็นการสื่อสารระหว่างคน 2 คน เช่น การสนทนา หรือการโต้ตอบจดหมายระหว่างกัน เป็นต้น
3 การสื่อสารแบบกลุ่มชน (Group Communication) เป็นการสื่อสารระหว่างบุคคลกับกลุ่มชนซึ่งประกอบด้วยคนจำนวนมาก เช่น การสอนในห้องเรียนระหว่างครูเพียงคนเดียวกับนักเรียนทั้งห้อง หรือระหว่างกลุ่มชนกับบุคคล เช่น กลุ่มชนมาร่วมกันฟังคำปราศรัยหาเสียงของผู้สมัครรับเลือกตั้ง เป็นต้น
4 การสื่อสารมวลชน (Mass Communication) เป็นการสื่อสารโดยการอาศัยสื่อมวลชนประเภทวิทยุ โทรทัศน์ ภาพยนตร์ และสื่อสิ่งพิมพ์ต่าง ๆ เช่น นิตรสาร หนังสือพิมพ์ แผ่นพับ แผ่นโปสเตอร์ ฯลฯ เพื่อการติดต่อไปยังผู้รับสารจำนวนมากซึ่งเป็นมวลชนให้ได้รับข้อมูลข่าวสารเดียวกันในเวลาพร้อม ๆ หรือไล่เรี่ยกัน

รูปแบบของการสื่อสาร แบ่งได้เป็น 2 รูปแบบ คือ

1. การสื่อสารทางเดียว (One - Way Communication) เป็นการส่งข่าวสารหรือการสื่อความหมายไปยังผู้รับแต่เพียงฝ่ายเดียว โดยที่ผู้รับไม่สามารถมีการตอบสนองในทันที (immediate response) ให้ผู้ส่งทราบได้ แต่อาจจะมีปฏิกิริยาสนองกลับ (feedback) ไปยังผู้ส่งภายหลังได้ การสื่อสารในรูปแบบนี้จึงเป็นการที่ผู้รับไม่สามารถมีปฏิสัมพันธ์ต่อกันได้ทันที จึงมักเป็นการสื่อสารโดยอาศัยสื่อมวลชน เช่น การฟังวิทยุ หรือการชมโทรทัศน์ เหล่านี้เป็นต้น
2. การสื่อสารสองทาง (Two-Way Communication) เป็นการสื่อสารหรือการสื่อความหมายที่ผู้รับมีโอกาสตอบสนองมายังผู้ส่งได้ในทันที โดยที่ผู้ส่งและผู้รับอาจจะอยู่ต่อหน้ากันหรืออาจอยู่คนละสถานที่ก็ได้ แต่ทั้งสองฝ่ายจะสามารถมีการเจรจาหรือการโต้ตอบกันไปมา โดยที่ต่างฝ่ายต่างผลัดกันทำหน้าที่เป็นทั้งผู้ส่งและผู้รับในเวลาเดียวกัน เช่น การพูดโทรศัพท์ การประชุม เป็นต้น

- องค์ประกอบ และ ช่องทางของการสื่อสาร

องค์ประกอบของการสื่อสาร
         1. ผู้ส่ง ผู้สื่อสาร หรือต้นแหล่งของการส่ง (Sender, Communicatior or Source) เป็นแหลหรือผู้ที่นำข่าวสารเรื่องราว แนวความคิด ความรู้ ตลอดจนเหตุการณ์ต่าง ๆ เพื่อส่งไปยังผู้รับซึ่งอาจเป็นบุคคลหรือกลุ่มชนก็ได้ ผู้ส่งนี้จะเป็นบุคคลเพียงคนเดียว กลุ่มบุคคลหรือสถาบัน โดยอยู่ในลักษณะต่าง ๆ ได้หลายอย่าง
          2. เนื้อหาเรื่องราว (Message) ได้แก่ เนื้อหาของสารหรือเรื่องราวที่ส่งออกมา เช่น ความรู้ ความคิด ข่าวสาร บทเพลง ข้อเขียน ภาพ ฯลฯ เพื่อให้ผู้รับรับข้อมูลเหล่านี้
          3. สื่อหรือช่องทางในการนำสาร (Media or Channel) หมายถึง ตัวกลางที่ช่วยถ่ายทอดแนวความคิด เหตุการณ์ เรื่อราวต่าง ๆ ที่ผู้ส่งต้องการให้ไปถึงผู้รับ
          4. ผู้รับหรือกลุ่มเป้าหมาย (Receiver or Target Audience) ได้แก่ ผู้รับเนื้อหาเรื่องราวจากแหล่งหรือที่ผู้ส่งส่งมา ผู้รับนี้อาจเป็นบุคคล กลุ่มชน หรือสถาบันก็ได้
          5. ผล (Effect) หมายถึง สิ่งที่เกิดขึ้นจากการที่ผู้ส่งส่งเรื่องราวไปยังผู้รับ ผลที่เกิดขึ้นคือ การที่ผู้รับอาจมีความเข้าใจหรือไม่รู้เรื่อง ยอมรับหรือปฏิเสธ พอใจหรือโกรธ ฯลฯ สิ่งเหล่านี้เป็นผลของการสื่อสาร และจะเป็นผลสืบเนื่องต่อไปว่าการสื่อสารนั้นจะสามารถบรรลุผลตามจุดมุ่งหมายหรือไม่ ทั้งนี้ย่อมขึ้นอยู่กับทัศนคติของผู้รับ สื่อที่ใช้ และสถานการณ์ในการสื่อสารเป็นสำคัญด้วย
           6. ปฏิกริยาสนองกลับ (Feedback) เป็นสิ่งที่เกี่ยวเนื่องจากผลซึ่งผู้รับส่งกลับมายังผู้ส่งโดยผู้รับอาจแสดงอาการให้เห็น เช่น ง่วงนอน ปรบมือ ยิ้ม พยักหน้า การพูดโต้ตอบ หรือการแสดงความคิดเห็น เพื่อเป็นข้อมูลที่ทำให้ผู้ส่งทราบว่า ผู้รับมีความพอใจหรือมีความเข้าใจในความหมายที่ส่งไปหรือไม่ปฏิกริยาสนองกลับนี้คือข้อมูลย้อนกลับอันเกิดจากการตอบสนองของผู้รับที่ส่งกลับไปยังผู้ส่งนั่นเอง


องค์ประกอบของการสื่อสารในการเรียนการสอน

1. ผู้ส่งสารในการเรียนการสอน คือ ผู้สอน ครู วิทยากร หรือผู้บรรยาย

2. เนื้อหาความรู้ ที่ส่งให้แก่ผู้เรียน ได้แก่ เนื้อหาของวิชาตามหลักสูตรที่กำหนดไว้โดยจะแบ่งไว้เป็นบทเรียน มีการเรียงลำดับความยากง่ายเพื่อความสะดวกในการนำมาสอน

3. สื่อหรือช่องทางที่ใช้ส่งเนื้อหาความรู้ให้แก่ผู้เรียน

4. ผู้รับสารในการเรียนการสอน ได้แก่ ผู้เรียน ซึ่งมีระดับอายุ สติปัญญา และความรู้พื้นฐานที่แตกต่างกันในแต่ละระดับชั้น จึงทำให้มีความสามารถในการถอดรหัสแตกต่างกันไปด้วย

5. ผลที่เกิดขึ้นในการเรียนการสอน หมายถึง ผลของการเรียนรู้เพื่อแสดงว่าผู้เรียนสามารถเข้าใจสารหรือความรู้ที่รับมาหรือไม่

6. ปฏิกริยาสนองกลับของผู้เรียน หมายถึง การที่ผู้เรียนตอบคำถามได้หรืออาจจะถามคำถามกลับไปยังผู้สอน หรือการที่ผู้เรียนแสดงอาการง่วงนอน ยิ้ม หรือแสดงกริยาใด ๆ ส่งกลับไปยังผู้สอน

ช่องทางการสื่อสาร

               เป็นองค์ประกอบที่สำคัญอย่างหนึ่งของการสื่อสารข้อมูลซึ่งหมายถึง สื่อกลางการส่งผ่านสารสนเทศระหว่างอุปกรณ์ 2 ชนิด โดยการสื่อสารข้อมูลผ่านช่องทางการสื่อสารนี้ ความเร็วในการสื่อสารข้อมูลจะขึ้นอยู่กับปัจจัยพื้นฐาน 2 ประการ คือ ความกว้างของช่องสัญญาณและชนิดของข้อมูล ซึ่งคำว่า “ความกว้างของช่องสัญญาณ (Bandwidth)” อาจเปรียบได้กับความกว้างของถนนและ “ชนิดของข้อมูล” อาจเปรียบได้กับชนิดของรถยนต์ดังนั้นการที่ช่องทางการสื่อสารมีแบนด์วิดท์มาก ก็เท่ากับมีถนนหลายเลน รถยนต์สามารถวิ่งผ่านไปมาได้มากและรวดเร็ว แต่ในทางกลับกันหากมีแบนด์วิดท์น้อยก็เท่ากับถนนมีเลนน้อย รถยนต์วิ่งผ่านไปมาได้น้อยและช้า นอกจากนี้แล้วชนิดของข้อมูลก็ถือว่าเป็นปัจจัยสำคัญอีกประการหนึ่งที่มีผลกระทบต่อปริมาณ และความรวดเร็วในการสื่อสารกล่าวคือชนิดข้อมูลที่เป็นข้อความจะมีขนาดเล็กทำให้การส่งผ่านข้อมู่ลไปมาทำได้สะดวกรวดเร็วแม้จะมีแบนด์วิดท์น้อยก็ตามแต่ในทางกลับกัน หากช่องทางการสื่อสารนั้นมีแบนด์วิดท์กว้าง แต่ชนิดข้อมูลกลับเป็นไฟล์วิดีโอซึ่งขนาดใหญ่มากก็จะทำให้ส่งผ่านข้อมูลได้ช้า ช่องทางการติดต่อสื่อสารแบ่งออกได้เป็น 2 ชนิด คือ

ช่องทางการสื่อสารแบบมีสาย (Physical Wire) เช่น สายทวิสเตดแพร์ (Twisted-pair Wire) สายโคแอกเชียล (Coaxial Cable) และเคเบิลใยแก้วนำแสง (Fiber-optic Cable) เป็นต้น

ช่องทางการสื่อสารแบบไร้สาย (Wireless) เช่น ไมโครเวฟ (Microwave) ดาวเทียม (Satellite) แสงอินฟราเรด (Infrared) คลื่นวิทยุ (Radio) และเซลลาร์ เป็นต้น

- ทฤษฏีของการสื่อสาร

การแบ่งทฤษฎีการสื่อสารสามารถแบ่งออกเป็น 4 แนวทาง คือ
1. ทฤษฎีสื่อสารเชิงระบบพฤติกรรม
2. ทฤษฎีสื่อสารเชิงพฤติกรรมการถอดและเข้ารหัส
3. ทฤษฎีสื่อสารเชิงปฏิสัมพันธ์
4. ทฤษฎีสื่อสารปริบททางสังคม

1 ทฤษฎีเชิงระบบพฤติกรรม
ให้ความสำคัญกับเรื่องของสื่อหรือช่องทางการสื่อสารสรุปสาระสำคัญได้ดังนี้คือ
2.1 มุ่งอธิบายเกี่ยวกับพฤติกรรมที่เกิดขึ้น ในการส่งข่าวสาร จากผู้ส่ง ผ่านสื่อหรือช่องทาง ไปยังผู้รับ
2.2 เปรียบเทียบการสื่อสารของมนุษย์ได้กับการทำงานของเครื่องจักร
2.3 การสื่อสารเป็นกระบวนการต่อเนื่อง หรืออาจเป็นวงกลมและเกิดสิ่งใหม่ๆ ขึ้นเสมอ
2.4 ความหมายหรือเจตนาการสื่อสาร ขึ้นอยู่กับปฏิกิริยาระหว่างผู้สื่อสารและสถานการณ์แวดล้อม

2 ทฤษฎีพฤติกรรมการเข้ารหัสและถอดรหัส
ทฤษฎีนี้มีความเชื่อว่า สิ่งสำคัญในการสื่อสาร คือ กระบวนการสร้างรหัสและถอดรหัสของผู้สื่อสาร ทั้งผู้รับและผู้ส่งสาร กิจกรรมที่สำคัญของการสื่อสารได้แก่ การแปลเนื้อหาข่าวสารให้เป็นรหัสสัญญาณ (Encoding) การแปลรหัสสัญญาณกลับเป็นเนื้อหา (Decoding) และการแปลความหมายของข่าวสาร (Interpreting) สรุปสาระสำคัญของทฤษฏี ดังนี้ คือ
1.1 การสื่อสาร เป็นปฏิสัมพันธ์ของมนุษย์ ที่เกิดขึ้นจากความต้องการตรวจสอบและควบคุมสิ่งแวดล้อม
1.2 กระบวนการสื่อสาร ต้องมีการเข้ารหัส ถอดรหัส และแปลความหมายอยู่ตลอดเวลา
1.3 การรับรู้ ความรู้สึก ความสนใจ และการจำแนกประเภทข่าวสาร ขึ้นอยู่กับองค์ประกอบเชิงสรีร เช่น ระบบกล้ามเนื้อ เกี่ยวกับการฟัง การเขียน รวมถึงกระบวนการทางอารมณ์
1.4 เน้นการศึกษาถึงความสำพันธ์ระหว่างผู้ส่งสารและผู้รับสาร
1.5 ระบบสมอง การคิด เป็นปัจจัยสำคัญในการวิเคราะห์ตัดสินว่าสิ่งใดที่เกี่ยวข้องหรือไม่เกี่ยวข้องกับตนเอง เป็นตัวกระตุ้นให้สนใจที่จะรับสาร

3. ทฤษฎีเชิงปฏิสัมพันธ์
สรุปสาระสำคัญดังนี้ คือ
3.1 ให้ความสำคัญกับกระบวนการเชื่อมโยง ระหว่างผู้รับและผู้ส่งสาร ซึ่งปกติจะมีความสัมพันธ์ด้วยอำนาจภายนอกและมีปัจจัยเกี่ยวข้องหลายอย่าง
3.2 การสื่อสารจะขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายด้าน บุคคลิกภาพ ความน่าเชื่อของผู้ส่งข่าวสารเป็นตัวกำหนดปฏิกิริยาของผู้รับสาร
3.3 พฤติกรรมทั้งหลายของคนเป็นผลมาจากพฤติกรรมทางการสื่อสาร
3.4 พฤติกรรมต่างๆ ของคนมีอิทธิพลต่อกระบวนการเชื่อมโยงระหว่างผู้รับและผู้ส่งสาร

4. ทฤษฎีเชิงบริบททางสังคม
มีสาระสำคัญดังนี้ คือ
4.1 เน้นอธิบายเกี่ยวกับปัจจัยต่างๆ ที่มีอิทธิพลต่อการสื่อสาร
4.2 การสื่อสารเกิดขึ้นภายใต้อิทธิพลของปัจจัยทางสังคม วัฒนธรรม
4.3 กลุ่มสังคม องค์กร มีอิทธิพลต่อความคิด ความเชื่อ การตัดสินใจ
4.4 สังคมเป็นตัวควบคลุมการไหลของกระแสข่าวสาร เมื่อสังคมมีการเปลี่ยนแปลงกระแสข่าวสารก็เปลี่ยนแปลงไปด้วย
              ทฤษฎีการสื่อสารทั้ง 4 ทฤษฎีข้างตนเป็นเพียงการนำความคิดของนักวิชาการการสื่อสารมาจัดเป็นกลุ่มความคิดตามความคิดที่เหมือนกันบางประการเท่านั้น ความจริงนักวิชาการแต่ละคน แม้ที่ถูกจัดในกลุ่มทฤษฏีเดียวกันก็มีความแตกต่างกันอยู่มาก ซึ่งแนวความคิดของนักวิชาการสื่อสารต่างๆ สามารถอธิบายได้ด้วยแบบจำลองการสื่อสารของนักวิชาการสื่อสารแต่ละคน

- วิวัฒนาการของการสื่อสาร

              ในปัจจุบันนี้เราสามารถติดต่อสื่อสารกับคนทั่วโลกได้สะดวกมาก แต่กว่าจะมาถึงวันนี้ได้ การสื่อสารได้มีวิวัฒนาการมาหลายยุคหลายสมัย เชื่อกันว่าการสื่อสารระยะไกลของมนุษย์ในยุคแรกๆ น่าจะเป็นการการตีเกราะ เคาะไม้ การส่งเสียงต่อเป็นทอดๆ และการส่งสัญญาณควัน ต่อมาเมื่อมนุษย์รู้จักวิธีการเขียนหนังสือ ก็มีการคิดวิธีการสื่อสารกัน แบบใหม่โดยการฝากข้อความไปกับนกพิราบ หรือการส่งข้อความไปกับม้าเร็ว ต่อมาเมื่อมีการผลิตกระแสไฟฟ้าได้ ก็เกิดการปฏิวัติการสื่อสารขึ้นโดยมนุษย์สามารถติดต่อสื่อสารกันได้ โดยไม่ต้องเดินทางไปหากัน ไม่ต้องตีเกราะเคาะไม้ ไม่ต้องส่งสัญญาณควัน ไม่ต้องใช้ม้าเร็ว ไม่ต้องใช้นกพิราบ เมื่อมีการผลิตกระแสไฟฟ้าได้การสื่อสารระยะไกลก็ได้มีการพัฒนาตามเทคโนโลยีใหม่ โดยแซมมวลมอร์ส นักวิทยาศาสตร์ชาวอเมริกัน เป็นคนแรกที่คิดวิธีการสื่อสารสมัยใหม่(ในตอนนั้น)โดยการส่งสัญญาณไปตามสาย มอร์สได้กำหนดรหัสขึ้นมาใช้ในการสื่อสาร ด้วยการส่งกระแสไฟฟ้าให้ไหลไปตามสายไฟฟ้า และกำหนดให้มีจังหวะของการไหลยาวบ้างสั้นบ้างเป็นจังหวะ แล้วนัดหมายกับฝ่ายรับปลายทางว่ารหัสแต่ละตัวหมายถึงตัวอักษรตัวใด การส่งสัญญาณในรูปรหัสนี้เรียกว่าการส่งโทรเลข รหัสที่ใช้ในการส่งโทรเลขเรียกว่ารหัสมอร์ส
รหัสที่มอร์สกำหนดขึ้นมาโดยใช้สัญญาณเพียงสองลักษณะเท่านั้นคือสัญญาณไฟสั้นกับ ยาว ซึ่งจะแทนด้วย . กับ - ( จุด กับ ขีด ) จุดเกิดจากการกดคันเคาะในช่วงเวลาสั้นๆ ส่วนขีดเกิดจากการกดคันเคาะแช่ไว้เป็นเวลาที่นานกว่า มอร์สนำเอารหัสจุดกับขีดนี้มาผสมกันแล้วกำหนดเป็นรหัสสัญญาณโทรเลขของตัวอักษรต่างๆขึ้นมา
             ในการส่งโทรเลขจะต้องมีคนเคาะคันเคาะเพื่อส่งกระแสไฟฟ้าในรูปของสัญญาณสั้น-ยาวสลับกันไปสัญญาณนี้จะวิ่งไปตามสายโทรเลข และในการส่งโทรเลข เจ้าหน้าที่ต้องจำรหัสของตัวอักษรและสระได้ทุกตัวอย่างเป็นอย่างดีจึงจะสามารถส่งโทรเลขได้
               ต่อมาได้มีการนำเอารหัสมอร์สนี้มาประยุกต์ใช้ในการส่งสัญญาณไฟ โดยการเปิด-ปิดไฟเป็นจังหวะสั้น- ยาว สลับกันไป ถ้าเปิดไฟนาน แสงจากดวงไฟจะเรียกว่าแสงวาบ ถ้าเปิดไฟในช่วงเวลาสั้นๆ แสงไฟจะเรียกว่าแสงวับ
              ต่อมา เนื่องจากการสื่อสารกันด้วยโทรเลขค่อนข้างยุ่งยากและต้องใช้ผู้ที่ชำนาญเป็นอย่างมาก และใช้เวลาฝึกฝนเป็นปีจึงจะสามารถรับหรือส่งข้อความต่างๆได้ เนื่องจากผู้รับหรือส่งจะต้องจำรหัสให้ได้ทุกตัวตั้งแต่ ก ไก่ จนถึง ฮ นกฮูก และสระทุกตัว หรือถึงแม้เจ้าหน้าที่บางคนจะจำรหัสได้ทุกตัว แต่บางคนก็ไม่สามารถรับข้อความได้ เนื่องจากสัญญาณเหล่านี้จะมาอย่างรวดเร็วและต่อเนื่อง ถ้าไม่ชำนาญจะไม่สามารถรับข้อความเหล่านี้ได้ ต่อมาเมื่อวิทยาการก้าวหน้าขึ้น ได้มีการประดิษฐ์เครื่องโทรพิมพ์เพื่อทำหน้าที่ในการส่งและรับโทรเลขแทนคน เครื่องโทรพิมพ์นี้ก็ใช้หลักการทำงานเช่นเดียวกับโทรเลข แต่ผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องจำรหัสตัวอักษรต่างๆ ในการส่งโทรเลขด้วยเครื่องโทรพิมพ์ ผู้ส่งก็เพียงแต่พิมพ์ตัวอักษรที่ต้องการส่งลงไปในเครื่องโทรพิมพ์ เครื่องโทรพิมพ์ก็จะเจาะรูบนแถบกระดาษให้เป็นรหัสมอร์ส
               ถ้าถามว่าการส่งสัญญาณด้วยรหัสมอร์สในปัจจุบันนี้ ยังมีการใช้อยู่หรือไม่ ท่านผู้อ่านคิดว่า ( มี อาจะมี ไม่มี ) ท่านผู้อ่านที่ตอบว่าไม่มี ผิดครับ !! ถึงแม้ว่าในปัจจุบันเทคโนโลยีต่างๆจะก้าวหน้าไปมาก แต่ในปัจจุบันการส่งสัญญาณด้วยรหัสมอร์สก็ยังมีการใช้อย ู่ ตัวอย่างเช่นในทางทหารยังมีการติดต่อสื่อสารกันโดยใช้รหัสมอร์ส หรือสัญญาณไฟ เนื่องจากในยามฉุกเฉินหรือในยามสงคราม การสื่อสารในระบบอื่นๆอาจถูกตัดขาด การสื่อสารทางสัญญาณไฟหรือสัญญาณมอร์สก็จะถูกนำมาใช้แทนได้ หรือกล่าวง่ายๆว่า ถ้ามีการสื่อสารหลายรูปแบบย่อมจะดีกว่าที่จะมีการสื่อสารรูปแบบเดียว จากพัฒนาการของการสื่อสารจะสังเกตเห็นว่าการสื่อสารด้วยรหัสมอร์ส ก็พัฒนามาจากการสื่อสารด้วยสัญญาณควันหรือสัญญาณการตีเกราะเคาะไม้นั่นเอง แม้ว่าโทรเลขจะเป็นการสื่อสารที่รวดเร็วมากเพราะว่าส่งปั๊บก็ถึงปุ๊บ แต่การส่งโทรเลขก็ยังไม่ค่อยสะดวกเพราะว่าเป็นการส่งตัวอักษรทีละตัว และบ่อยครั้งที่ผู้รับแปลรหัสผิดและเกิดผลเสียหาย
              ต่อมาเมื่อนักวิทยาศาสตร์สามารถแปลงเสียงพูดให้เป็นสัญญาณไฟฟ้าได้ อเล็กซานเดอร์ เกรแฮม เบลล์ (Alexander Graham Bel) จึงได้ประดิษฐ์โทรศัพท์ขึ้นมา และโทรศัพท์จะมีการเปลี่ยนสัญญาณเสียงให้เป็นสัญญาณไฟฟ้าส่งไปตามสายโทรศัพท์ แล้วโทรศัพท์ปลายทางจะทำหน้าที่แปลงสัญญาณไฟฟ้านั้นกลับมาเป็นสัญญาณเสียงเหมือนเดิม และเรียกการสื่อสารในลักษณะนี้ว่าโทรศัพท์แบบใช้สายหรือโทรศัพท์บ้าน
              ในตอนที่มีโทรศัพท์บ้านใหม่ๆ ถือได้ว่าการสื่อสารแบบนี้เป็นการสื่อสารที่มีความสะดวกมาก แต่เนื่องจากมนุษย์นี้มีความต้องการไม่มีที่สิ้นสุด เมื่อใช้โทรศัพท์บ้านไปนานๆคนก็เริ่มรู้สึกว่าโทรศัพท์บ้านนี้ไม่สะดวก คุยโทรศัพท์แล้วจะเดินไปเดินมาก็ไม่ได้ หรือไปเที่ยว ป่า เขา ทะเล ก็คุยกับเพื่อนไม่ได้ ต่อมาเมื่อนักวิทยาศาสตร์พบคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าซึ่งสามารถเดินทางไปในที่ต่างๆได้โดยไม่ต้องอาศัยตัวกลาง จึงได้มีการประดิษฐ์โทรศัพท์ไร้สายขึ้น แล้วคนไทยได้ตั้งชื่อโทรศัพท์แบบนี้ว่า “ โทรศัพท์มือถือ ” ชื่อนี้เมื่อชาวต่างประเทศได้ยิน คงแปลกใจว่า แล้วโทรศัพท์แบบอื่นคนไทยใช้อะไรถือ ? โทรศัพท์มือถือในปัจจุบันก็พัฒนามาจากวิทยุโทรศัพท์ที่ตำรวจ ทหาร และอาสาสมัครใช้ในการติดต่อสื่อสารกันภายในหน่วยงาน
              วิทยุโทรศัพท์ที่ตำรวจ ทหารและอาสาสมัครใช้ ไม่สามารถส่งและรับพร้อมกันได้ ดังนั้นในการติดต่อสื่อสารกันตอนจบข้อความจะต้องมีคำลงท้ายว่า”เปลี่ยน “ คำว่า เปลี่ยน หมายความว่าให้อีกฝ่ายหนึ่งเป็นคนพูดบ้าง และวิทยุโทรศัพท์แบบนี้จะมีศูนย์กลางทำหน้าที่รับและถ่ายทอดสัญญาณไปยังเครือข่ายที่อยู่ใกล้เคียง
               การสื่อสารในปัจจุบันช่วยให้การดำเนินชีวิตคนเรามีความสะดวก สบายมากขึ้น(ไม่ได้หมายความว่าคนในปัจจุบันมีความสุขมากขึ้น) ปัจจุบันผู้บริหารหน่วยงานต่างๆที่มีเครือข่ายอยู่ทั่วประเทศสามารถประชุมกันได้ โดยไม่ต้องมาเข้าห้องประชุมเดียวกัน
และในการประชุมก็ไม่ต้องมีเอกสารเป็นปึกๆเหมือนแต่ก่อน เพราะว่าเอกสารต่างๆจะอยู่ในรูปแผ่นดิสก์หรืออยู่ในเครือข่ายที่สามารถดึงข้อมูลออกมาได้ทันที
                เมื่อการสื่อสารด้วยโทรศัพท์มาถึงจุดที่ค่อนข้างจะอิ่มตัว ก็ได้มีเทคโนโลยีใหม่เกิดขึ้นมาคือเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และอินเตอร์เน็ต ในปัจจุบันเราก็สามารถพูดคุยกับเพื่อนได้ทั่วโลก โดยใช้เครือข่ายอินเตอร์เน็ตและมีค่าใช้จ่ายถูกกว่าการใช้โทรศัพท์ นอกจากนี้ก็สามารถใช้เครือข่ายอินเตอร์เน็ตในการจัดการเรียนการสอนผ่านทางอินเตอร์เน็ตได้
               จากวิวัฒนาการของการสื่อสารที่มีการพัฒนาการอยู่ตลอดเวลาดังที่กล่าวมาแล้ว ไม่รู้ว่าในอนาคตของการสื่อสารจะพัฒนาไปจนถึงขั้นใช้โทรจิตติดต่อกันหรือไม่ และปัจจุบันมีรายงานการวิจัยออกมาว่า เราสามารถทำการทดลองเพื่อทำนายความคิดของผู้ถูกทดลองได้ แต่รายงานการวิจัยนี้ผู้เขียนไม่คิดว่าเป็นเรื่องที่แปลกใหม่อะไร เพราะว่าในปัจจุบันก็มีคนที่สามารถรู้ความคิดของคนได้โดยการมองดวงตา เนื่องจากใครๆก็รู้ว่าดวงตาคือหน้าต่างของหัวใจ และเชื่อว่าในอนาคตก็อาจจะมีคนประดิษฐ์โทรจิตก็เป็นได้
                และหวังว่าคนที่ประดิษฐ์โทรจิตได้เป็นคนแรกน่าจะเป็นนักศึกษาของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี และ ” คำว่าเป็นไปไม่ได้ “ ไม่ควรจะนำมาใช้บ่อยนัก เพราะว่าหลายสิ่งหลายอย่างที่เราเห็นหรือที่เราใช้อยู่ในทุกวันนี้ ก็เคยเป็นสิ่งที่ในสมัยก่อนคิดว่าเป็นไปไม่ได้ ยกตัวอย่างง่ายๆเช่น ในสมัยก่อนพูดถึงขอมดำดินก็คงไม่มีใครคิดว่าคนไทยจะสามารถดำดินได้เหมือนขอม แต่ในปัจจุบันคนไทยก็สามารถดำดินไปโผล่ในที่ต่างๆได้แล้ว หรือในสมัยรัชกาลที่ 1 ก็คงไม่มีใครคิดว่าเราสามารถคุยคนทุกมุมโลกโลกได้ในเวลาเดียวกันโดยไม่ต้องเดินทางไปไหนเลย

- ประโยชน์และโทษของการสื่อสาร

ประโยชน์ของการสื่อสาร

        ในปัจจุบันความสำคัญของการสื่อสารข้อมูลผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์เป็นสิ่งที่คำนึงถึง
อย่างมาก ด้วยเหตุว่าการสื่อสารข้อมูลผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์มีประโยชน์หลายประการด้วยกัน
คือ

1. จัดเก็บข้อมูลได้ง่ายและสื่อสารได้รวดเร็ว การจัดเก็บข้อมูลซึ่งอยู่ในรูปของสัญญาณ
อิเล็กทรอนิกส์ สามารถจัดเก็บไว้ในแผ่นบันทึก (Diskette) ที่มีความหนาแน่นสูงได้ แผ่นบันทึก
แผ่นหนึ่งสามารถบันทึกข้อมูลได้มากกว่า 1 ล้านตัวอักษร สำหรับการสื่อสารข้อมูลนั้นถ้าข้อมูล
ผ่านสายโทรศัพท์ด้วยอัตรา 120 ตัวอักษรต่อวินาทีก็จะสามารถส่งข้อมูล 200 หน้า ได้ในเวลา
40 นาที โดยที่ไม่ต้องเสียเวลา มานั่งป้อนข้อมูลเหล่านั้นซ้ำใหม่อีก

2. ความถูกต้องของข้อมูล โดยปกติมีการส่งข้อมูลด้วยสัญญาณทางอิเล็กทรอนิกส์ จาก
จุดหนึ่งไปยังจุดอื่นด้วยระบบดิจิทัล วิธีการรับส่งนั้นจะมีการตรวจสอบสภาพของข้อมูล หากข้อมูลผิดพลาด ก็จะมีการรับรู้และพยายามหาวิธีการแก้ไขให้ข้อมูลที่ได้รับมีความถูกต้อง โดยอาจให้
ทำการส่งใหม่ หรือกรณีผิดพลาดไม่มาก ผู้รับอาจใช้โปรแกรมของตนเองแก้ไขข้อมูลให้ถูกต้องได้

3. ความเร็วของการทำงาน สัญญาณทางไฟฟ้าจะเดินทางด้วยความเร็วเท่าแสง ทำให้การใช้
คอมพิวเตอร์ส่งข้อมูล จากซีกโลกหนึ่งไปยังอีกซีกโลกหนึ่ง หรือการค้นหาข้อมูลจากฐานข้อมูลฦ
ขนาดใหญ่สามารถทำได้อย่างรวดเร็ว ความรวดเร็วของระบบจะทำให้ผู้ใช้สะดวกสบาย เช่น บริษัท
สายการบินทุกแห่งสามารถทราบข้อมูลของทุกเที่ยวบินได้อย่างรวดเร็ว ทำให้การจองที่นั่งของ
สายการบิน สามารถทำได้ทันที

4. ประหยัดต้นทุน การเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ต่อเข้าหากันเป็นเครือข่ายเพื่อส่งหรือสำเนาข้อมูล
โปรแกรมการทำงาน จะทำให้ราคาต้นทุนของการใช้ข้อมูลไม่แพง เมื่อเทียบกับการจัดส่งแบบวิธีอื่น

5.สามารถเก็บข้อมูลเป็นศูนย์กลาง กล่าวคือ สามารถมีข้อมูลเพียงชุดเดียวในระบบเครือข่ายซึ่งถือเป็นข้อมูลส่วนกลาง โดยที่แต่ละแผนกในบริษัทสามารถดึงไปใช้ได้จากที่เดียวกัน

6.การใช้ทรัพยากรของระบบร่วมกันได้ ในระบบเครือข่ายนั้น จะทำให้สามารถใช้อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ร่วมกันได้ โดยที่อุปกรณ์ตัวนั้น อาจต่อยู่กับเครื่องใดเครื่องหนึ่งในเครือข่ายแต่สามารถให้คอมพิวเตอร์ทุกเครื่องในเครือข่ายใช้อุปกรณ์ตัวนั้นได้โดยตรง

7.การทำงานแบบกลุ่ม สามารถใช้ประโยชน์ของระบบเครือข่ายในการทำงานในแผนกหรือกลุ่มเดี่ยวกันได้เป็นอย่างดี เช่น สามารถร่วมแก้ไขเอกสารตัวเดียวกันตามแผนงาน กล่าวคือ ในระบบงานเอกสารชนิดหนึ่งอาจจะผ่านการแก้ไขหลายขั้นตอน ซึ่งคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องทำงานในขั้นตอนของตนเองก่อนจะส่งไฟล์ข้อมูลเอกสารนั้นไปให้เครื่องคอมพิวเตอร์อื่นๆ

โทษของการสื่อสาร

1. เปลี่ยนสังคมชาวบ้าน ให้กลายเป็นวัตถุนิยม (อิเฎลไม่ชอบมาก ๆ)
2. ทำให้มนุษย์ขาดการออกกำลังกาย
3. ทำให้เกิดปัญหาการว่างงาน เพราะใช้แรงงานเครื่องจักรแทนแรงงานคน
4. ทำให้เสียเวลา ทั้งจากรายการไร้สาระในโทรทัศน์ จนกระทั่งนัก chat
5. หากใช้เว็ปไซด์จำพวก Social Network จะทำให้ผู้ใช้มีโลกเป็นของตนเอง ขาดการติดต่อกับผู้อื่น โดยเฉพาะที่เห็นชัดเจนเกิดช่องว่างระหว่างผู้สูงอายุกับเด็ก

- รูปแบบการสื่อสารเพื่อการจัดการเรียนการสอน

1. การเรียนรู้ในรูปแบบการสื่อสารทางเดียว
                การให้สิ่งเร้าแก่ผู้เรียนในรูปแบบการสื่อสารทางเดียวหรือในการสื่อสารระบบวงเปิด (Open-Loop System) นี้ สามารถให้ได้โดยใช้การฉายภาพยนตร์ วีดิทัศน์ การใช้โทรทัศน์วงจรปิดในการสอนแก่ผู้เรียนจำนวนมากในห้องเรียนขนาดใหญ่ หรือการสอนโดยใช้วิทยุและโทรทัศน์การศึกษาแก่ผู้เรียนที่เรียนอยู่ที่บ้าน การแปลความหมายของผู้เรียนต่อสิ่งเร้าก่อนจะมีการตอบสนองที่เหมาะสมนั้นนับว่าเป็นสิ่งสำคัญยิ่งเพราะถ้าขอบข่ายประสบการณ์ของผู้เรียนมีน้อยหรือแตกต่างไปจากผู้สอนมากจะทำให้การเรียนนั้นไม่ประสบผลสำเร็จเท่าที่ควร

รูปแบบของสิ่งเร้า การแปลความหมาย และการตอบสนอง

           ในการสื่อสารทางเดียว โดยไม่มีปฏิกริยาสนองกลับส่งไปยังผู้สอนหรือสิ่งเร้า ดังนั้น การเรียนการสอนโดยใช้ผู้สอนหรือใช้สื่อการสอนในรูปแบบการสื่อสารทางเดียวหรือการสื่อสารในระบบวงเปิดนี้ จึงควรจะมีการอธิบายความหมายของเนื้อหาบทเรียนให้ผู้เรียนเข้าใจก่อนการเรียนหรืออาจจะมีการอภิปรายภายหลังจากการเรียนหรือดูเรื่องราวนั้นแล้วก็ได้ เพื่อให้ผู้เรียนมีความเข้าใจและแปลความหมายในสิ่งเร้านั้นอย่างถูกต้องตรงกันจะได้มีการตอบสนองและเกิดการเรียนรู้ได้ในทำนองเดียวกันด้วย

2. การเรียนรู้ในรูปแบบการสื่อสารสองทาง
            การให้สิ่งเร้าแก่ผู้เรียนในรูปแบบการสื่อสารสองทงหรือการสื่อสารระบบวงปิด (Closed Loop System) นี้ สามารถให้ได้โดยการใช้อุปกรณ์ประเภทเครื่องช่วยสอน (Teaching Machine) หรือการอภิปรายกันในระหว่างผู้สอนกับผู้เรียน ทั้งนี้เพราะในสถานการณ์ของการสื่อสารแบบนี้ เนื้อหาข้อมูลต่างจะผ่านอยู่แต่เฉพาะในระหว่างกลุ่มบุคคลที่อยู่ในที่นั้น โดยถ้าเป็นการเรียนโดยการใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนหรือการใช้เครื่องช่วยสอน เนื้อหาความรู้จะถูกส่งจากเครื่องไปยังผู้เรียนเพื่อให้ผู้เรียนทำการตอบสนองโดยส่งคำตอบหรือข้อมูลกลับไปยังเครื่องอีกครั้งหนึ่ง หรือถ้าเป็นการอภิปรายในห้องเรียนผู้สอนและผู้เรียนจะมีการโต้ตอบเนื้อหาความรู้กัน เป็นการมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างกันเช่นเดียวกันการใช้อุปกรณ์การสอนดังกล่าวมาแล้วการใช้การสื่อสารรูปแบบนี้ในการเรียนการสอนมีข้อดีที่สำคัญหลายประการโดยเมื่อผู้รับมีการตอบสนองแล้ว จะเปลี่ยนบทบาทเป็นผู้ส่งและมีปฏิกริยาสนองกลับส่งไปยังผู้ส่งเดิมซึ่งจะกลายเป็นผู้รับ

รูปแบบของสิ่งเร้า การแปลความหมาย และการตอบสนอง ในการสื่อสารสองทาง


- การประยุกต์ใช้การสื่อสารในการเรียนการสอน


ประยุกต์ใช้ในงานด้านการศึกษา

          เทคโนโลยีสารสนเทศที่นำมาใช้สำหรับการเรียนการสอน เป็นการใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่หลายอย่าง สอนด้วยสื่ออุปกรณ์ที่ทันสมัย ห้องเรียนสมัยใหม่ มีอุปกรณ์วิดีโอโปรเจคเตอร์ (Video Projector)มีเครื่องคอมพิวเตอร์ มีระบบการอ่านข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์แบบต่าง ๆ รูปแบบของสื่อที่นำมาใช้ในด้านการเรียนการสอน ก็มีหลากหลาย ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมในการนำมาใช้ เช่น คอมพิวเตอร์ช่วยสอน อิเล็กทรอนิกส์บุค วิดีโอเทเลคอนเฟอเรนซ์ ระบบวิดีโอออนดีมานด์ การสืบค้นข้อมูลในคอมพิวเตอร์ และระบบอินเทอร์เน็ต เป็นต้น

- คอมพิวเตอร์ช่วยสอน เป็นการนำเอาเทคโนโลยี รวมกับการออกแบบโปรแกรมการสอน มาใช้ช่วยสอน ซึ่งเรียกกันโดยทั่วไปว่าบทเรียน CAI ( Computer - Assisted Instruction ) การจัดโปรแกรมการสอน โดยใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน ในปัจจุบันมักอยู่ในรูปของสื่อประสม (Multimedia) ซึ่งหมายถึงนำเสนอได้ทั้งภาพ ข้อความ เสียง ภาพเคลื่อนไหวฯลฯ โปรแกรมช่วยสอนนี้เหมาะกับการศึกษาด้วยตนเอง และเปิดโอกาสให้ผู้เรียนสามารถโต้ตอบ กับบทเรียนได้ตลอด จนมีผลป้อนกลับเพื่อให้ผู้เรียนรู้ บทเรียนได้อย่างถูกต้อง และเข้าใจในเนื้อหาวิชาของบทเรียนนั้นๆ

- การเรียนการสอนโดยใช้เว็บเป็นหลัก เป็นการจัดการเรียน ที่มีสภาพการเรียนต่างไปจากรูปแบบเดิม การเรียนการสอนแบบนี้ อาศัยศักยภาพและความสามารถของเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ซึ่งเป็นการนำเอาสื่อการเรียนการสอน ที่เป็นเทคโนโลยี มาช่วยสนับสนุนการเรียนการสอน ให้เกิดการเรียนรู้ การสืบค้นข้อมูล และเชื่อมโยงเครือข่าย ทำให้ผู้เรียนสามารถเรียนได้ทุกสถานท ี่และทุกเวลา การจัดการเรียนการสอนลักษณะนี้ มีชื่อเรียกหลายชื่อ ได้แก่ การเรียนการสอนผ่านเว็บ (Web-based Instruction) การฝึกอบรมผ่านเว็บ (Web-based Trainning) การเรียนการสอนผ่านเวิล์ดไวด์เว็บ (www-based Instruction) การสอนผ่านสื่อทางอิเล็กทรอนิกส์ (e-learning) เป็นต้น

- อิเล็กทรอนิกส์บุค คือการเก็บข้อมูลจำนวนมากด้วยซีดีรอม หนึ่งแผ่นสามารถเก็บข้อมูลตัวอักษรได้มากถึง 600 ล้านตัวอักษร ดังนั้นซีดีรอมหนึ่งแผ่นสามารถเก็บข้อมูลหนังสือ หรือเอกสารได้มากกว่าหนังสือหนึ่งเล่ม และที่สำคัญคือการใช้กับคอมพิวเตอร์ ทำให้สามารถเรียกค้นหาข้อมูลภายในซีดีรอม ได้อย่างรวดเร็วโดยใช้ดัชนี สืบค้นหรือสารบัญเรื่อง ซีดีรอมจึงเป็นสื่อที่มีบทบาทต่อการศึกษาอย่างยิ่ง เพราะในอนาคตหนังสือต่าง ๆ จะจัดเก็บอยู่ในรูปซีดีรอม และเรียกอ่านด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ ที่เรียกว่าอิเล็กทรอนิกส์บุค ซีดีรอมมีข้อดีคือสามารถจัดเก็บ ข้อมูลในรูปของมัลติมีเดีย และเมื่อนำซีดีรอมหลายแผ่นใส่ไว้ในเครื่องอ่านชุดเดียวกัน ทำให้ซีดีรอมสามารถขยายการเก็บข้อมูลจำนวนมากยิ่งขึ้นได้

- วิดีโอเทเลคอนเฟอเรนซ์ หมายถึงการประชุมทางจอภาพ โดยใช้เทคโนโลยีการสื่อสารที่ทันสมัย เป็นการประชุมร่วมกันระหว่างบุคคล หรือคณะบุคคลที่อยู่ต่างสถานที่ และห่างไกลกันโดยใช้สื่อทางด้านมัลติมีเดีย ที่ให้ทั้งภาพเคลื่อนไหว ภาพนิ่ง เสียง และข้อมูลตัวอักษร ในการประชุมเวลาเดียวกัน และเป็นการสื่อสาร 2 ทาง จึงทำให้ ดูเหมือนว่าได้เข้าร่วมประชุมร่วมกันตามปกติ ด้านการศึกษาวิดีโอเทคเลคอนเฟอเรนซ์ ทำให้ผู้เรียนและผู้สอนสามารถติดต่อสื่อสารกันได้ ผ่านทางจอภาพ โทรทัศน์และเสียง นักเรียนในห้องเรียน ที่อยู่ห่างไกลสามารถเห็นภาพและเสียง ของผู้สอนสามารถเห็นอากับกิริยาของ ผู้สอน เห็นการเคลื่อนไหวและสีหน้าของผู้สอนในขณะเรียน คุณภาพของภาพและเสียง ขึ้นอยู่กับความเร็วของช่องทางการสื่อสาร ที่ใช้เชื่อมต่อระหว่างสองฝั่งที่มีการประชุมกัน ได้แก่ จอโทรทัศน์หรือจอคอมพิวเตอร์ ลำโพง ไมโครโฟน กล้อง อุปกรณ์เข้ารหัสและถอดรหัส ผ่านเครือข่ายการสื่อสารความเร็วสูงแบบไอเอสดีเอ็น (ISDN)

- ระบบวิดีโอออนดีมานด์ (Video on Demand) เป็นระบบใหม่ที่กำลังได้รับความนิยมนำมาใช้ ในหลายประเทศเช่น ญี่ปุ่นและสหรัฐอเมริกา โดยอาศัยเครือข่ายคอมพิวเตอร์ความเร็วสูง ทำให้ผู้ชมตามบ้านเรือนต่าง ๆ สามารถเลือกรายการ วิดีทัศน์ ที่ตนเองต้องการชมได้โดยเลือกตามรายการ (Menu) และเลือกชมได้ตลอดเวลา วิดีโอออนดีมานด์ เป็นระบบที่มีศูนย์กลาง การเก็บข้อมูลวีดิทัศน์ไว้จำนวนมาก โดยจัดเก็บในรูปแหล่งข้อมูลขนาดใหญ่ (Video Server) เมื่อผู้ใช้ต้องการเลือกชมรายการใด ก็เลือกได้จากฐานข้อมูลที่ต้องการ ระบบวิดีโอ ออนดีมานด์จึงเป็นระบบที่จะนำมาใช้ ในเรื่องการเรียนการสอนทางไกลได้ โดยไม่มีข้อจำกัดด้านเวลา ผู้เรียนสามารถเลือกเรียน ในสิ่งที่ตนเองต้องการเรียนหรือ สนใจได้

- การสืบค้นข้อมูล (Search Engine) ปัจจุบันได้มีการกล่าวถึงระบบการสืบค้นข้อมูลกันมาก แม้แต่ในเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ก็มีการประยุกต์ใช้ไฮเปอร์เท็กซ์ในการสืบค้นข้อมูล จนมีโปรโตคอลชนิดพิเศษที่ใช้กัน คือ World Wide Web หรือเรียกว่า www. โดยผู้ใช้สามารถเรียกใช้โปรโตคอล http เพื่อเชื่อมโยงเข้าสู่ระบบไฮเปอร์เท็กซ์ ซึ่งเป็นฐานข้อมูลในอินเทอร์เน็ต ไฮเปอร์เท็กซ์มีลักษณะเป็นแบบมัลติมีเดีย เพราะสามารถสร้างเป็นฐานข้อมูลขนาดใหญ่ ที่เก็บได้ทั้งภาพ เสียง และตัวอักษร มีระบบการเรียกค้นที่มีประสิทธิภาพ โดยใช้โครงสร้างดัชนีแบบลำดับชั้นภูมิ โดยทั่วไป ไฮเปอร์เท็กซ์จะเป็นฐานข้อมูลที่มีดัชนี สืบค้นแบบเดินหน้า ถอยหลัง และบันทึกร่องรอยของการสืบค้นไว้ โปรแกรมที่ใช้ในการสร้างไฮเปอร์เท็กซ์มีเป็นจำนวนมาก ส่วนโปรแกรมที่มีชื่อเสียงได้แก่ HTML Compossor FrontPage Marcromedia DreaWeaver เป็นต้น ปัจจุบันเราใช้วิธีการสืบค้นข้อมูล เพื่อนำข้อมูลที่ได้ไปใช้ประกอบในการทำเอกสารรายงาน ต่าง ๆ ได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว

- อินเทอร์เน็ต คือเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ซึ่งประกอบด้วยเครือข่ายย่อย และเครือข่ายใหญ่สลับซับซ้อนมากมาย เชื่อมต่อกันมากกว่า 300 ล้านเครื่องในปัจจุบัน โดยใช้ในการติดต่อสื่อสาร ข้อความรูปภาพ เสียงและอื่น ๆ โดยผ่านระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ที่มีผู้ใช้งานกระจายกันอยู่ทั่วโลก ปัจจุบันได้มีการนำระบบอินเทอร์เน็ต เข้ามาใช้ในวงการศึกษากันทั่วโลก ซึ่งมีประโยชน์ในด้านการเรียนการสอนเป็นอย่างมาก

อ้างอิงที่มา

http://ednet.kku.ac.th/~sumcha/212300/communication4.html
http://portal.in.th/eleccom69/pages/6154/
http://www.pdc.ac.th/chinawat/am/WEB/Link03_2.html
http://poschanunpan.blogspot.com/2012/01/blog-post_5857.html
http://sw-eden.net/2010/08/09/bipolar-technology/
http://ednet.kku.ac.th/~sumcha/212300/communication8.html


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น